ซัตตาร ข่าน กอลอเชะดอร์กีย์ เกิด 28 เมะหร์ ปี 1245 – เสียชีวิต 25 ออบอน 1293 เป็นหนึ่งในผู้นำขบวนการรัฐธรรมนูญของอิหร่าน ซึ่งมีฉายาว่า ผู้บัญชาการระดับชาติ เขายืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลต่อต้านรัฐธรรมนูญในตับรีซ
ซัตตาร ข่าน คือ บุตรชายคนที่3ของ ฮัจ ฮะซัน กีเระดากีย์ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมะหร์ 1245 ในหมู่บ้าน Sardarkandi ในเมือง วัรซ์กอน เขายืนเผชิญหน้าหน้ากับกองทัพของมูฮัมหมัด อาลี ชาห์ หลังจากปิดรัฐสภา ซึ่งถูกส่งไปยังอาเซอร์ไบจานเพื่อปฏิเสธและจับกุมผู้นิยมรัฐธรรมนูญตาบริซ และวางรากฐานของการต่อต้าน
ซัตตาร ข่าน เรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านกองทัพของรัฐบาลโดยเขารับหน้าที่เป็นผู้นำพร้อมกับนักต่อสู้คนอื่นๆ เขาได้ยืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังของรัฐบาลเป็นเวลาหนึ่งปี และไม่ยอมให้ตับรีซ ตกอยู่ในมือของผู้สนับสนุน Mohammad Ali Shah ความขัดแย้งของเขากับกษัตริย์ Qajar และการประท้วงต่อต้านการกดขี่ของพวกเขา มีมาตั้งแต่สมัยเขายังเป็นเด็ก
ซัตตาร ข่าน, ผู้บัญชาการแห่งชาติ บุตรชายของ ฮัจ ฮะซัน กีเระดากีย์ เกิดในภูมิภาค Arsbaran เขาเป็นบุตรชายคนที่3ของ ฮัจญ์ ฮัสซัน เบสซาซ ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้าผ้า ประวัติเกี่ยวกับระยะเวลาชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่นของเขาจนกระทั่งเกิดข้อขัดแย้งของขบวนการรัฐธรรมนูญไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากข้อมูลที่กระจัดกระจายที่ได้รับจากเขา เราพบว่าเขาขายผ้าอยู่กับพ่อในหมู่บ้านรอบๆ Arsbaran
เขาและพี่ชายสองคนของเขา อิสมาอีล และ ฆ็อฟฟาร มีความสนใจการยิงปืนและขี่ม้ามาตั้งแต่เด็ก อิสมาอีล บุตรชายคนโตของครอบครัวใช้เวลาทั้งวันทั้งคืนในการขี่ม้า ยิงปืน คลุกคลีอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ การก่อการจลาจลเพื่อประท้วงผู้ปกครองในขณะนั้นทำให้เขาถูกจับกุมและถูกตัดสินประหารชีวิต
กล่าวกันว่า อิสมาอีลถูกกล่าวหาว่า ติดต่อและให้ที่พักพิงแก่บุคคลชื่อฟาร์ฮอด ซึ่งเป็นหนึ่งในฝ่ายขัดแย้งและผู้เห็นต่าง และเขาถูกสังหารในข้อหานี้ สิ่งนี้สร้างความขุ่นเคืองใจของ ซัตตาร ข่าน ซึ่งต่อมาได้ช่วยเสริมสร้างจิตวิญญาณในการต่อสู้กับ Qajar ให้แข็งแกร่งขึ้น เมื่ออิสมาอีลถูกกองกำลังของรัฐบาลสังหาร ซัตตาร์ ข่านจึงอพยพไปยังตับรีซพร้อมครอบครัว
เขาตั้งรกรากอยู่ในย่าน Amirkhiz และอยู่ใน Lotians ของ Tabriz แน่นอนว่าชาว Lotians แห่งตับรีซเชื่อในสองนิกาย ได้แก่ ชัยคีเยะห์ และ ชัรอีเยะห์ และ ซัตตาร ข่าน ก็เป็นหนึ่งในชาวลูเทียนแห่งชัยคีเยะห์
เขาเป็นหนึ่งในทหารม้าของผู้ปกครองโคราซาน จากนั้นเขาเดินทางไปสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งอิรัก หลังจากนั้นไม่นานเขาก็กลับไปที่ ตับรีซ และมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพย์สินของมูฮัมหมัด ตะกี ซัรรอฟ
จากนั้น ตามคำแนะนำของนายพลจัตวา ริฎอกุลีย์ เขาได้เป็นทหาร และได้รับมอบหมายให้ดูแลถนนหนทาง Marand และ Khoi ต่อมา มุศ็อฟฟะรุดดีน มีรซา (มกุฏราชกุมาร) แต่งตั้งซัตตาร ข่านให้เป็นหนึ่งในนักแม่นปืนประจำกายมกุฏราชกุมารของตับรีซ
ซัตตาร ข่าน เนื่องจากนิสัยของชาว Lotians เป็นผู้ที่ปกป้องผู้ถูกกดขี่จากรัฐบาล หลังจากการปะทะกันครั้งหนึ่งกับเจ้าหน้าที่ของ มูฮัมหมัด อาลี มีรซา ในเมือง ตับรีซ ซัตตาร ข่าน จึงถูกไล่ล่า เขาหนีออกนอกเมือง เขาปล้นสะดมระยะหนึ่ง โดยปล้นจากคนรวยๆแล้วแจกจ่ายให้กับคนยากคนจน จากนั้นเขาก็กลับเข้าเมืองพร้อมกับการไกล่เกลี่ยของผู้หลักผู้ใหญ่และผู้ดูแลผลประโยชน์ท้องถิ่น และกลายเป็นนายหน้าซื้อขายม้า
เขาถูกรู้จักว่าเป็นผู้ซื่อสัตย์และมีความน่าเชื่อถือในตับรีซ นั่นคือเหตุผลผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างมอบความไว้วางใจในการดูแลทรัพย์สินของพวกเขาให้กับเขา เขาไม่เคยศึกษาและไม่รู้หนังสือ แต่ด้วยกับความฉลาดบวกกับความกล้าหาญและทักษะในการทำสงคราม ตลอดจนความศรัทธาทางศาสนาและความรักชาติทำให้เขาเป็นผู้บัญชาการระดับชาติ
ในช่วงบ่ายของวันที่ 1 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 1328 กองทัพของรัฐบาลซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นสามพันคน ภายใต้การบังคับบัญชาของ เยะพัรม์ ข่าน เพื่อนเก่าแก่ของ ซัตตาร ข่าน ใน ตับรีซ ได้ล้อม สวน Atabak หลังจากส่งสาส์นหลายฉบับ การโจมตีของทหารก็เกิดขึ้นในสวน และสงครามเริ่มขึ้นระหว่างกองทัพของรัฐบาลและนักต่อสู้
สงครามครั้งนี้ กองทัพของรัฐบาลใช้ปืนใหญ่หลายกระบอกและปืนกล 500 กระบอก 60 นัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 300 รายในสวนภายใน 4 ชั่วโมง ซัตตาร ข่าน ขึ้นไปบนหลังคา แต่ระหว่างทางขึ้นบันได เขาโดนยิงที่ขา จนได้รับบาดเจ็บ และไม่สามารถขยับได้ จากนั้นไม่นาน กองทัพของรัฐบาลจับกุมเขาและพาเขาไปที่บ้านของซัมซัม อัล-สุลต่านห์ เขาและผู้ติดตามเขาถูกสั่งให้ปลดอาวุธ
หลังจากเหตุการณ์นี้ ซัตตาร ข่าน ตั้งรกรากอยู่ในเตหะราน แพทย์ของฮาซิกพยายามรักษาขาของเขาอย่างเต็มที่ ผลจากกระสุนทำให้กระดูกหน้าแข้งทั้งสองข้างหักและแผลติดเชื้อ แพทย์ผู้รักษาทำการผ่าตัดและทำความสะอาดแผลสองครั้ง ต่อมาระยะหนึ่งรอยหักประสานและบาดแผลก็หายดี
ซัตตาร์ ข่าน ซึ่งถูกโดดเดี่ยวและละทิ้งจากรัฐบาล เขาอาศัยอยู่เป็นเวลาเกือบสี่ปีหลังจากเหตุการณ์นั้น เขายังติดต่อทางจดหมายกับรัฐบาลกลางของ Ain al-Dawlah (ผู้ปิดล้อมเมือง Tabriz) ประกาศความพร้อมเพื่อขับไล่ชาวต่างชาติและปลดปล่อยการยึดครองและความโหดร้ายของรัสเซียในอาเซอร์ไบจาน ซัตตาร ข่าน เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 25 ออบอน 1293ในกรุงเตหะราน