علما و اندیشمندان مشاهیر

มีร์ ดามาด

มีร์ มูฮัมหมัด บาเก็ร บิน มูฮัมหมัด ฮูซัยนี เอสตราบาดีย์ (เสียชีวิตในปี 1041 ฮ.ศ) หรือที่รู้จักกันในนาม มีร์ ดามาด เป็นนักปรัชญาชีอะต์ร่วมสมัยของเชคบะอาอีย์ในยุคสมัยซาฟาวิด ท่านเป็นอาจารย์ของมุลลา ศ็อดรอ ผู้ก่อตั้งสำนักคิด ฮิกมัต มุตะออลีเยะห์

มีร์ ดามาด เป็นที่รู้จักในฐานะอาจารย์ท่านที่สาม ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญามุสลิมที่มีอิทธิพลต่อสำนักคิด ฮิกมัต มุตะออลีเยะห์ของ มุลลา ศ็อดรอ ท่านถูกนับถือให้เป็นนักวิชาการที่รอบรู้ในทุกด้าน และกล่าวกันว่า ท่านมีความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา เทววิทยา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  คณิตศาสตร์ นิติศาสตร์ และอุศูล ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอิสลามวิทยาชาวญี่ปุ่นนามว่า  อีซุตซู กล่าวไว้ว่า ปรัชญาของ มีร์ ดามาด อาศัยทั้งการเหตุผลทางสติปัญญาและจิตประจักษ์

มีร์ ดามาด เป็นนักเขียนที่ซับซ้อนมาก ด้วยเหตุนี้ผลงานของเขาจึงถือว่าเข้าใจยาก ตามที่ Henry Corban รูปแบบการเขียนของ มีร์ ดามาด ไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากเขาไม่สามารถใช้วรรณกรรมทั่วไปได้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงปากเหยี่ยวปากกาของฝ่ายที่ขัดแย้งกับปรัชญา จึงได้เขียนแบบนี้

ผลงานเขียนของ มีร์ ดามาด  มีมากกว่าหนึ่งร้อยผลงาน และหนังสือ กุบซาต ถือเป็นผลงานปรัชญาที่สำคัญที่สุดของเขา ในปรัชญาของเขา วิธีการใช้สติปัญญาเชื่อมโยงกับจิตประจักษ์ จุดเริ่มของการมีและฮุดูซ ดะห์รี เป็นทฤษฎีปรัชญาที่มีชื่อเสียง2ทฤษฎีของ มีร์ ดามาด   เขาเขียนบทกวีเป็นภาษาอาหรับและเปอร์เซียซึ่งมีชื่อว่า อิชรอก ตัคลุศ

บูร์ฮานุดดีน มีร์ มูฮัมหมัด บาเก็ร มีร์ ดามาด เกิดในปี 970 ฮ.ศ บิดาของเขานามว่า ชัมซุดดีน มูฮัมหมัด ฮูซัยนี เอสตราบาดีย์ เป็นลูกเขยของมูฮักกิก การากีย์

มีร์ ดามาด อาศัยอยู่ใน มัชฮัด เป็นเวลาหลายปี และศึกษาวิชการที่เกี่ยวกับปัญญาและทฤษฎี จากนั้นได้พักอาศัยอยู่ที่กัซวีนและกาชาน อยู่พักหนึ่ง ท้ายที่สุดได้ตั้งรกรากที่อิศฟาฮาน เขาอยู่ร่วมสมัยกับเชคบะฮาอีย์ กล่าวกันว่า เขาเป็นพิเศษของชาห์ อับบาส ราชวงศ์ Safavi

ในช่วงบั้นปลายชีวิต มีร์ ดามาด เดินทางไปอิรักพร้อมกับ ชาห์ อับบาส เพื่อเยี่ยมเยียนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จากคำกล่าวอ้างของ อยาตุลลอฮ เตะห์รานี ว่า เขาเสียชีวิตในปี 1041 ฮ.ศ ระหว่างทางกัรบาลา-นะญัฟ ร่างของท่านถูกฝังที่เมืองนะญัฟ อีซุตซู นักวิชาการอิสลามชาวญี่ปุ่นและนักวิชาการอัลกุรอาน ถือว่า มีร์ ดามาด เป็นหนึ่งในนักปรัชญามุสลิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ตามที่เขากล่าว  เขาเป็นนักวิชาการที่รอบรู้ในทุกด้านและมีความเชี่ยวชาญอย่างสมบูรณ์ในความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอิสลามทั้งหมด เช่น ปรัชญา เทววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ นิติศาสตร์ อุศูล  ฮะดิษ และตัฟซีร  นอกจากนี้เขายังเขียนด้วยว่าข้อเท็จจริงที่ว่า มีร์ ดามาด มีชื่อเสียงในฐานะครูคนที่สาม (ถัดจาก อริสโตเติล ครูคนแรกและ ฟะรอบีย์  ครูคนที่สอง) บ่งบอกถึงฐานะทางวิชาการระดับสูงในช่วงชีวิตของเขา

ท่านชะฮีด มุเฏาะฮะรี ยังสาธยายถึงเขาว่า เขาเป็นนักปรัชญา นักกฎหมาย นักคณิตศาสตร์ นักวรรณกรรม และเป็น มนุษย์ผู้รอบรู้

อีซุตซู เชื่อว่า ปรัชญาของมีร์ ดามาดมีอิทธิพลอย่างมากต่อปรัชญาของมุลลา ศัดรอ (ฮิกมัต มุตะออลีเยะห์) และสำนักคิดปรัชญาของอิศฟาฮาน ในลักษณะที่ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องถ้าไม่รู้ปรัชญาของ มีร์ ดามาด

มีร์ ดามาด ยังเป็นนักกวีและเขียนบทกวีเป็นภาษาเปอร์เซียและอาหรับ ที่มีชื่อว่า อิชรอก ตัคลุศ  งานเขียนของ มีร์ ดามาด มีมากกว่าร้อยผลงาน ผลงานเหล่านี้ประกอบด้วยหนังสือ บทความ และบันทึกต่างๆของเขา ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงในหนังสือไรฮานะตุ้ลอะดับ 48 เล่ม หนังสือ กุบซาต ได้รับการขนานนามว่าเป็นผลงานชิ้นเอกทางปรัชญาของ มีร์ ดามาด

Exit mobile version