เชคบะฮาอีย์
علما و اندیشمندان مشاهیر

เชคบะฮาอีย์

บะฮาอุดดีน มูฮัมหมัด บิน ฮูเซน หรือที่รู้จักในชื่อ เชคบะฮาอีย์ (953-1030 ฮิจญเราะห์ศักราช) ท่านคือ นักกฎหมาย นักรายงานฮะดิษ นักเทววิทยา นักไวยากรณ์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา และนามของท่านเป็นที่รู้จักของชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 11 ตามจันทรคติ ท่านเป็นเจ้าของผลงานด้านวิชาการมากมายในแต่ละแขนง มีความฉลาดและอัจฉริยะเฉพาะตัวซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของท่าน เชคบะฮาอีย์ ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีประจำวังซะฟาวีย์ ณ เมืองอิศฟาฮาน ท่านได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น มุลลาศ็อดรอ, เฟซ คาชานีย์ และมุลลาห์ โมฮัมหมัด ตะกี มัจลิซีย์
ชีวประวัติ
บะฮาอุดดีน มูฮัมหมัด บิน ฮูเซน ออมิลีย์ หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ เชคบะฮาอีย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 อิสฟัน ปี 925 ในเมือง Baalbek วันเกิดของเชคบะฮาอีย์ ถูกจารึกไว้บนศิลาหลุมศพและกระเบื้องบุผนังของห้องสุสาน ซึ่งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ตามคำจารึกบนกระเบื้องบุผนัง วันเกิดของเขาคือ 26 ซุฮิจญา 953 ฮิจญเราะห์ศักราช (วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 1547) แต่วันเกิดของท่านตามจารึกหลุมศพคือ วันพฤหัสบดี เดือน มีนาคม 1546) ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวนักวิชาการ และพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากฮาริส ฮัมดานี หนึ่งในสหายผู้จงรักภักดีต่อท่านอิมามอาลี อ.
เชคบะฮาอีย์เดินทางมาอิหร่านพร้อมกับบิดาของท่านตั้งแต่เด็ก เมื่อพวกเขาถึงเมือง กัซวีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น เขาได้อาศัยอยู่ที่นั่น เชคบะฮาอีย์ เรียนภาษาเปอร์เซียในกัซวีน และได้เติบโตในเมืองนั้น ท่านเป็นลูกศิษย์ของบิดาของท่านและนักวิชาการคนอื่นๆ เมื่อท่านอายุได้ 17 ปี บิดาของเชคบะฮาอีย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น จุฬาราชมนตรีของเมืองอิศฟาฮาน โดย ชาห์ ตะห์มาสบ์ ตามคำแนะนำของ เชค อาลี มินชาร์
หลังจากที่บิดาของท่านเสียชีวิตในปี 984 ฮิจญเราะห์ศักราชในบาห์เรนแล้ว เชคบะฮาอีย์ได้เดินทางไปที่เมืองเฮรัตตามคำสั่งของชาห์ ตะห์มาสบ์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีแห่งเฮรัตแทนบิดาของท่าน นี่เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการครั้งแรกของท่าน ท่านดำรงตำแหน่งในฐานะจุฬาราชมนตรีในเมืองเฮรัตนั้นได้ไม่นาน พ่อตาของเขาได้เสียชีวิต เชคบะฮาอีย์ จึงได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีแห่งอิศฟาฮานในปีเดียวกัน
หลังจากพ่อตาของท่าน (เชค อาลี มินชาร์) เสียชีวิตในปีเดียวกัน ท่านได้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีแห่งเมืองอิศฟาฮาน กฤษฎีกาจุฬาราชมนตรีออกโดยชาห์ อิสมาอีลที่ 2 หรือ ชาห์ มูฮัมหมัด โคดาบันเดะห์ (ฮัก: 985-995) บางคนกล่าวว่า ชาห์ อับบาสที่ 1 ซึ่งขึ้นสู่อำนาจในปี ฮ.ศ. 996 ได้ออกคำสั่งให้เขาเป็นจุฬาราชมนตรี
เขารักในความสันโดษและดำเนินชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย เขาพยายามที่ลาออกจากตำแหน่งจุฬาราชมนตรีหลายครั้ง
กล่าวกันว่า เชคบะฮาอีย์ ในสมัยอดีตตอนที่เชคบะฮาอีย์ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี มีความใกล้ชิดเป็นพิเศษในราชสำนักซาฟาวิด ด้วยกับที่ท่านเป็นคนดีและสมถะจึงได้รับความไว้วางใจจากชาห์อับบาสที่ 1 จนเป็นที่ปรึกษาของเขาในด้านความรู้ ความศรัทธา ความพอเพียง และความเชี่ยวชาญ อิสกันดาร์ มันชีย์ เขียนว่า กษัตริย์สมัยนั้นใช้ประโยชน์จากเชคบะฮาอีย์ และทรงถือว่าการมีอยู่ของเชคบะฮาอีย์มีคุณค่าอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่า หลังจากที่เชคบะฮาอีย์กลับจากการเดินทาง พระองค์ทรงออกมาต้อนรับท่านเชคด้วยตัวพระองค์เอง และได้เสนอให้เชคบะฮาอีย์ ดำรงตำแหน่งประธานอุลามาอ์ (ผู้รู้) แห่งอิหร่าน แต่ทว่า เชคบะฮาอีย์ไม่ยอมรับ กษัตริย์เมื่อมีข้อสงสัยในกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวกับครอบครัวก็จะถามจากเชคบะฮาอีย์

ตำแหน่งทางวิชาการ
ผลพวงจากความฉลาดและพรสวรรค์ของเขาที่ได้มาจากการใช้ประโยชน์จากบิดาและสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยวิชาการแห่งเมืองอิศฟาฮาน เชคบะฮาอีย์ จึงมีความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการต่างๆและความรู้แห่งยุคสมัย
เชคบะฮาอีย์ เรียนรู้จากอาจารย์หลายท่านในแขนงต่างๆ นอกจากนี้ เขายังมีพรสวรรค์และเป็นผู้ที่ถวิลหาวิชาการความรู้ เขาคือศูนย์รวมของประชาชน เป็นนักไวยากรณ์ นักกลอน นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักกฎหมาย นักอรรถาธิบายกุรอาน และรอบรู้ในวิชาการแพทย์
ในยุคของท่าน เชคบะฮาอีย์เชี่ยวชาญในวิชาการที่เป็นทางการทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านศาสนาและวิชาการอิสลาม ในเส้นสายรายงานฮะดิษ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดิษของชีอะฮ์อิมามียะห์ที่มีชื่อเสียงแห่งศตวรรษที่ 11 และวิธีการรายงานฮะดิษในศตวรรษหลังๆนี้ รายงานไปจบที่เขา จากเขาไปสู่บิดาของเขา และจบที่ชะฮีดซานีย์

การเสียชีวิตของเชคบะฮาอีย์
เชคบะฮาอีย์เสียชีวิตในเดือนเชาวาล ปี 1030 หรือ 1031 ฮิจญเราะห์ศักราช โดยมีการนำร่างของท่านไปที่เมืองมัชฮัดเพื่อที่จะฝังตามคำสั่งเสียของท่าน ร่างของท่านถูกฝังไว้ข้างพิพิธภัณฑ์ออซดอน กุดส์ ใกล้กับสถานฝังร่างท่านอิมามริฎอ อ

วันรำลึกเชคบะฮาอีย์
ในปฏิทินอิหร่าน วันที่ 3 ของเดือน อูรเดะเบเฮ็ช (เดือนที่2ของอิหร่าน) ถูกกำหนดให้เป็นวันรำลึกถึง เชคบะฮาอีย์ และและในวันนี้ของทุกๆปี จะมีโปรแกรมต่างๆที่เกี่ยววักับฒนธรรมทางวัฒนธรรมและอื่นๆ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักกวีชาวอิหร่านผู้โด่งดังท่านนี้มากยิ่งขึ้น

บ้านของเชคบะฮาอีย์
บ้านของ เชคบะฮาอีย์ เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ที่มีสถาปัตยกรรมอิหร่านอันงดงาม เป็นอาคารในยุค Safavid ตั้งอยู่ในบริเวณถนน Dardasht ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางวัฒนธรรมแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองอิศฟาฮาน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
บ้านหลังนี้ได้รับการจดทะเบียนในรายการอนุสรณ์สถานแห่งชาติในปี 1357 และในปี 1378 ถูกนำเสนอเข้าสู่องค์กรมรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นบ้านทางประวัติศาสตร์ที่สวยที่สุดในเอเชียและแปซิฟิก
ในหนังสือชีวิตของ ชาห์อับบาส ประพันธ์โดย Nasrullah Falasfi ว่ากันว่า บ้านหลังนี้เป็นของป้าของชาห์อับบาส (Maryam Sultan Begum) หลังจากที่เธอเสียชีวิต ชาห์อับบาส ได้มอบบ้านหลังนี้ให้กับ เชคบะฮาอีย์