ศิลปะการปักผ้า “พาเตะฮ์”
ศิลปะ หัตกรรม

ศิลปะการปักผ้า “พาเตะฮ์”

พจนานุกรม มุอีน ได้ให้คำนิยาม ผ้าพาเตะฮ์ หรือ ฟาเตะฮ์  ไว้ดังนี้

“ผ้าขนนุ่มที่ทอมาจากขนแพะและนำมาพันที่บ่าหรือเป็นผ้าพันคอ”

ในพจนานุกรมของ Dehkhoda ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับผ้า Peteh ไว้ดังนี้ : ผ้านุ่มที่ทำมาจากขนแพะและทำจากสักหลาด โดยใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ หมวก หมวกแก๊ป และอื่น ๆ .

ท่ามกลางวัฒนธรรม pat หมายถึง ขนปุย ขนนุ่มที่ทำจากขนแพะและทอผ้าที่อ่อนนุ่มจากขน โดยทั่วไปแล้ว พาเตะฮ์ยังถือเป็นรูปแบบการเย็บผ้าโดยที่พื้นหลังทั้งหมดและบางครั้งพื้นหลังส่วนใหญ่จะเย็บด้วยด้ายสีสันสดใสหรือทำด้วยผ้าขนสัตว์หรือไหม

การปักผ้าแบบ Pete  ซึ่งปัจจุบันมีการปักกันมากใน เคอร์มาน , ซีญอน  และ รัฟซันญอน แต่น่าเสียดายว่าไม่มีประวัติในเรื่องแหล่งการปักรูปแบบนี้ที่แน่นอน พิพิธภัณฑ์ในประเทศไม่มีตัวอย่างของผ้าพาเตะฮ์ที่สามารถปูทางให้เราค้นพบประวัติศาสตร์ของศิลปะนี้จนถึงยุค Safavid แต่จาการค้นคว้าจากหนังสือท่องเที่ยวโดยเฉพาะหนังสือท่องเที่ยวของ Chardin พิสูจน์ว่าการเย็บปักประเภทนี้ทำกันมากใน Kerman ในสมัย ​​Safavid ที่ส่วนมากเย็บปักเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน

ในหนังสือศิลปะหลายเล่มอ้างว่าผ้าพาเตะฮ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกปักขึ้นถือเป็นปี 1285  ซึ่งมีกลีบดอกที่ละเอียดอ่อน