قهرمانان ملی مشاهیر

นายพล กอเซ็ม สุไลมานี

นายพล กอเซ็ม สุไลมานี (เกิด 20 อิสฟัน 1335 – เสียชีวิต 13 เดย์ 1398) เป็นทหารอิหร่านที่ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการคนที่2ของกองกำลังกุดส์แห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามตั้งแต่ปี 1376 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1398 ในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน เขาเป็น ผู้บัญชาการกองกำลังของเมืองเคอร์มาน และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของปฏิบัติการฟัจร์ 8  ปฏิบัติการกัรบาลา4 และ5 ซึ่งได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง หลังสงครามจนถึงปี 1376 สุไลมานี เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 41 ของซารุลลอฮ์ เคอร์มาน  และรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในพื้นที่ทางตะวันออกของอิหร่าน ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ (IRGC)  เขามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างอำนาจทางทหารของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์และกลุ่มนักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ สงครามในอัฟกานิสถาน สงครามระหว่างอิสราเอลและเลบานอน การจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธในอิรักหลังจากโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน และเปลี่ยนแปลงในช่วงสงครามกลางเมืองในซีเรีย นอกจากนี้ยังต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย ไอซิสในอิรักและซีเรียอีกด้วย

นายพล กอเซ็ม สุไลมานี ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ทหารที่ยืนหยัดปกป้องท่านผู้นำสูงสุดท่านซัยยิด อาลี คาเมเนอี” ได้แสดงให้เห็นด้วยคำพูดและการกระทำของเขาว่าเขาปฏิบัติตามซัยยิด อาลี คาเมเนอี และนโยบายมหภาคของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านอย่างเต็มที่ เขามักจะปรากฏตัวต่อสาธารณะก่อนที่เขาจะเข้าร่วมในสงครามกับไอซิส ในอิรักอย่างเปิดเผย  ปกติเขาจะไม่ปรากฏตัวในที่สาธารณะ แต่นับตั้งแต่ที่เขาปรากฏตัวในอิรัก รัฐบาลอิหร่านก็เริ่มทำให้ใบหน้าของเขาเป็นที่รู้จักด้วยการแพร่ภาพของเขาร่วมกับกองกำลังอิรัก สถานะของสุไลมานีค่อยๆ ถูกรู้จักมากขึ้นในฐานะหนึ่งในบุคคลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน สุไลมานีถูกสหภาพยุโรปคว่ำบาตรจากการมีส่วนร่วมในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของบาชาร์ อัล-อัสซาด และด้วยกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน องค์การสหประชาชาติและรัฐบาลอเมริกันถือว่าเขาคือผู้ก่อการร้ายตั้งแต่ปี 2005  ในสื่อต่างประเทศ สุไลมานีถูกอธิบายว่าเป็น ” ผู้บัญชาการเงา” สื่อเหล่านี้กล่าวถึงเขาว่าเป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลในการต่อสู้กับไอซิส  จนไอซิสได้รับความพ่ายแพ้  ถึงขนาดที่พวกเขาถือว่าการเสียชีวิตกอเซ็ม สุไลมานีคือความผิดพลาดของทรัมป์

เมื่อวันที่ 13 เดย์ 1398 สุไลมานีถูกโจมตีโดยขีปนาวุธจากโดรนของกองทัพสหรัฐฯ โดยคำสั่งการของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เขาถูกสังหารขณะออกจากสนามบินนานาชาติแบกแดด ผลที่ตามมาของการเสียชีวิตของเขาคือการถูกโจมตีฐานทัพอากาศ อัยนุลอะซัด ของสหรัฐฯ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้สโลแกน “การแก้แค้นที่รุนแรง”

หลังการเสียชีวิตของสุไลมานี ประชาชนชาวอิหร่าน อินเดีย ปากีสถาน กลุ่มอิสลามบางกลุ่มในมาเลเซีย ปาเลสไตน์ ตุรกี กลุ่มฮูตีในเยเมน ชาวชีอะฮ์ในแคชเมียร์ ผู้สนับสนุนฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอน ผู้สนับสนุนอัสซาดในซีเรีย และชาวอิรักได้ ประท้วงเพื่อประณามการกระทำของอเมริกาและแสดงความเห็นอกเห็นใจกับสุไลมานี การฝังร่างสุไลมานีและเหยื่อรายอื่นๆ ได้ดำเนินการในเมืองต่างๆ ของอิรัก โดยมีผู้คนหลายพันคนเข้าร่วมในการประท้วงด้วย จากนั้นมีการเคลื่อนย้ายศพไปยังอิหร่าน ผู้คนหลายล้านคนต่างรวมตัวกันในพิธีศพ ณ กรุงเตหะราน และสื่อบางสื่อเรียกงานนี้ว่าเป็นพิธีศพที่มีคนร่วมมากที่สุดในอิหร่านหลังพิธีศพของ อิมามโคมัยนี

หลังการปฏิวัติในปี 1357 สุไลมานีได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกว่า กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามกิตติมาศักดิ์ จากนั้นเขาก็เข้าร่วมก่อตั้งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม สภาบัญชาการ IRGC ของเมืองเคอร์มานก่อตั้งขึ้นก่อนวันที่ 8 โครดอด ปี 1358 ตามคำกล่าวอ้างของอัสฆัร มูฮัมหมัด ฮูซัยนี ระยะเวลาการฝึกของพวกเขาคือ 45 วัน แม้ว่าเขาจะไม่มีประสบการณ์ทางทหารมาก่อน แต่เขาได้รับเลือกให้เป็นโค้ชเนื่องจากมีผลงานดี จากนั้นไม่นาน เขาถูกส่งไปยังเมืองมาฮาบัดพร้อมกับทหารกลุ่มหนึ่งเพื่อช่วยจัดการและปกป้องเมืองมาฮาบัดจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ด หลังจากกลับจากมาฮาบัด จนกระทั่งเริ่มสงครามอิรัก-อิหร่าน เขาเป็นผู้บัญชาการกองทหารรักษาการณ์กุดส์แห่งกองทัพเคอร์มาน

ในเช้าวันศุกร์ที่ 13 เดย์ 1398 สุไลมานีถูกสังหารโดยการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐฯ ที่สนามบินแบกแดด ในการโจมตีครั้งนี้ อบูมะห์ดี มุฮันดิส หนึ่งในผู้บัญชาการของกลุ่มอาสาสมัครฮัชดุช ชะอ์บีย์ ของอิรัก ถูกสังหารพร้อมกับคนอื่นๆ อีก 10 คน กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่าคำสั่งโจมตีทางอากาศนี้ออกโดยโดนัลด์ ทรัมป์

มีการเผยแพร่ที่มาที่ไปเกี่ยวกับโดรนที่สังหารนายพล กอเซ็ม สุไลมานี และ อบูมะห์ดี มุฮันดิส  ช่อง อัลอะห์ด์ของอิรัก รายงานว่า “โดรนอเมริกัน 2 ลำเข้าสู่น่านฟ้าของอิรักจากคูเวตเพื่อปฏิบัติการนี้” การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธโดยทางการคูเวต รายงานที่สองกล่าวถึงโดรนของสหรัฐฯว่า ลำหนึ่งบินขึ้นจากฐานทัพอัล อะดีด ในกาตาร์ และได้ปฏิบัติการสังหารนี้ ในแถลงการณ์ป้องกันภัยทางอากาศของอิรัก ระบุว่าโดรนปลอดอาวุธอเมริกัน 3 ลำได้เข้าสู่น่านฟ้าของแบกแดดเมื่อวันพฤหัสบดีหลังจากปฏิบัติการดังกล่าว ก็ได้บินไปยังจอร์แดนในคืนนั้น อะหมัด อัลอะซัด สมาชิกรัฐสภาอิรักกล่าวว่า “โดรนอเมริกัน 3 ลำที่ปฏิบัติการสังหารได้บินออกจากฐานทัพ อัยนุลอะซัด และบินอยู่บนท้องฟ้าของแบกแดดเป็นเวลา 20 ชั่วโมงนับจากเช้าวันพฤหัสบดี และหลังจากปฏิบัติการสังหารแล้ว ก็กลับไปยังฐานทัพอัยนุล อะซัด โดตามรายงานของสื่ออเมริกัน รถที่นายพล กอเซ็ม สุไลมานีนั่ง ถูกโจมตีโดยโดรน MQ-9 Reaper

 

 

 

 

Exit mobile version