Day: October 18, 2020
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

อิมามซอเดะห์ ตอเฮ็ร

อิมามซอเดะห์ ตอเฮ็ร  เป็นหนึ่งในอาคารทางศาสนาที่สำคัญของแคว้นอัลโบรซ์ และ เมืองการัจช์ อาคารหลังนี้เป็นของยุค Safavid และเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้  สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่บนทางหลวง การัจช์ – กัซวีน หลังสะพาน Mehrshahr ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขตชุมชน Darya และทางเหนือของสวนแอปเปิ้ล Mehrshahr และทางเหนือของทางรถไฟ การัจช์ – กัซวีน ส่วนหนึ่งของอาคารเป็นของยุค Safavid และอีกส่วนเป็นของยุคร่วมสมัยมีพื้นที่มากกว่า 6 เฮกตาร์ โดยมีอาคารของฮะรัม ลานภายใน สวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะสำหรับเด็ก ที่จอดรถ สุสานและที่อาบน้ำนมาซ และถนนทางตอนเหนือมีทิวทัศน์ผืนน้ำที่สวยงาม  อาคารเก่าของสุสานถูกรื้อถอนในปี 74  เนื่องจากการทรุดตัวของอาคาร และ การพังทลายของกำแพง อาคารใหม่ถูกสร้างขึ้นด้วยการออกแบบที่สวยงาม มีพื้นที่ 1,400 ตารางเมตรซึ่งมีโดมอันเดียว มีห้องโถงแยกชายหญิง มีสองระเบียงทางทิศเหนือและทิศใต้ และเฉลียงที่สวยงาม ที่ครอบสุสานใหม่นี้ ถูกสร้างและติดตั้งในปี 79 ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบพื้นเมือง มีสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น ซึ่งมีพื้นที่หกพันตารางเมตรอยู่ทางทิศใต้ของอาคารทางศาสนาแห่งนี้ ทำให้อาคารมีทิวทัศน์ที่สวยงาม  

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

ที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี

ที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี การัจช์  เป็นอาคารหิน-อิฐที่อยู่ในยุค Safavid ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง การัจช์ ในแคว้นของอัลโบรซ์ และ ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจัตุรัส ชาห์ อับบาซี ที่พักกองเกวียนประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้รับการจดทะเบียนในรายชื่ออนุสรณ์สถานแห่งชาติของอิหร่านเมื่อวันที่ 22 ฟัรวาร์ดีน ปี 1356 โดยมีหมายเลข 1368 อาคารของที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี การัจช์ เช่นเดียวกับที่พักกองเกวียนอื่นๆในยุค Safavid ไม่มีกฎเกณฑ์ในการก่อสร้าง อาคารที่พักกองเกวียนนี้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีพื้นที่โดยรวม 6,000 ตารางเมตร  

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

สะพานออซิฟ อัล เดาละห์

สะพานออซิฟ อัล เดาละห์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำ ชูร์ ใกล้กับ มัรด์ ออบอด การัจช์ ถูกสร้างในยุคของ กษัตริย์ นาศิรุดดีน ชาห์ กาจาร์ โดย ออซิฟ อัล เดาละห์ เหตุนี้จึงรู้จักในชื่อ สะพานออซิฟ อัล เดาละห์  ปัจจุบันครึ่งหนึ่งทางตอนเหนือของสะพานมีปากทางเข้า2ทาง  แต่ถูกทำลายจนหมดสิ้น แต่จากซากของฐานรากสามารถสร้างใหม่ได้  เมื่อรวมปลายทั้งสองด้านแล้ว สะพานแม่น้ำ ชูร์ เดิมมีความยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 8.30 เมตร มีปากทางเข้าขนาดใหญ่และเล็กสี่ช่อง ซึ่ง ณ ปัจจุบันสองช่องถูกทำลายไปแล้ว  ฐานของสะพานทำด้วยอิฐ และ หินบางส่วน และยกขึ้นเล็กน้อยในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่าน เพื่อลดแรงดันน้ำ  

Read More