Month: November 2023
شاعران و ادیبان مشاهیر

บอบอ ตอเฮ็ร โอรยอน

บอบอ ตอเฮ็ร เป็นนักรหัสยะ นักกวีชาวอิหร่าน และนักแต่งโคลงสั้น ๆ อาศัยอยู่ในปลายศตวรรษที่ 4 และกลางศตวรรษที่ 5 ปีของอิหร่าน ในช่วงยุคเซลจุคของทูเกรล เบย์   บอบอ เป็นฉายาที่ตั้งให้กับสาวกผู้เคร่งครัด บทกวีของบอบอ ตอเฮ็ร เขียนเป็นภาษาโลรีย์ แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่แนะนำเขาว่าเป็นชาวเมือง ฮัมเมะดอน และตัวเขาเองได้กล่าวถึง ฮาเมะดอน และ อัลวันด์ ในหลายโคลงด้วย  วิถีชีวิตและความอ่อนน้อมถ่อมตนของเขา คือวิถีแห่งนักรหัสยะ ทำให้เขาเก็บตัวเงียบ ใช้ชีวิตโดยไม่เปิดเผยตัวตน และไม่ทิ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาไว้ ชีวประวัติ ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับครอบครัว การศึกษา และชีวิตของบอบอ ตอเฮ็ร แต่ตามผลงานเขียนของ Ravandi ใน รอฮาตุ้ลศุดูร  ว่า บอบอ ตอเฮ็ร ได้พบกับ ทูเกรล ของ เซลจุคในปี 447 และได้รับความเคารพจากทูเกรล  ในสองโคลงบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงของเขา เขาได้รวมปีเกิดของเขาไว้ในอักษรอับญัด หลังจากคำนวณโดย มีรซา มะห์ดี คาน กูกิบ […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

โอมาร์ คัยยัม เนชอบุรีย์

โอมาร์ คัยยัม เนชอบุรีย์ (ชื่อเต็ม ฆิยาซุดดีน อาบุ้ลฟัตฮ์ โอมาร์ บิน อีบรอฮีม คัยยัม เนชอบุรีย์) (เกิดปี 440 เสียชีวิตปี517 ฮ.ศ) เรียกอีกชื่อว่า คัยยามี  คัยยัม เนชอบุรีย์  โอมาร์ คัยยัม เป็นผู้รอบรู้ นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักกวีชาวอิหร่านในสมัยเซลจุค แม้ว่าสถานะทางวิชาการของคัยยัมจะสูงกว่าสถานะทางวรรณกรรมของเขา และมีฉายาว่า ฮุจญตุ้ลฮัก ชื่อเสียงของเขาก็เนื่องมาจากรุไบยาต ซึ่งได้รับการแปลในหลายภาษา  ชื่อเสียงของเขาในโลกตะวันตกเนื่องมาจากการแปลรุไบยาตของเขาเป็นภาษาอังกฤษโดย Edward Fitzgerald ผลงานที่โดดเด่นที่สุดชิ้นหนึ่งของเขาอาจกล่าวได้ว่า เป็นการจัดและดูแลการคำนวณลำดับเหตุการณ์ของอิหร่านในระหว่างพันธกิจของ Khwaja Nizam al-Mulk ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยของ Malik Shah Seljuq  การคำนวณของโอมาร์ คัยยัมในรูปแบบนี้ยังคงใช้ได้และมีความแม่นยำสูงกว่าปฏิทินเกรกอเรียนมาก เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ วรรณกรรม ศาสนา และวิชาการด้านประวัติศาสตร์ หนังสือที่บรรยายถึงชีวิตของบุคคลจำนวนหนึ่งถือว่า โอมาร์ คัยยัม ว่า เป็นลูกศิษย์ของอิบนุ […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

เมาลาวีย์

เมาลาวีย์ มีชื่อเต็มว่า ญาลาลุดดีน มูฮัมหมัด บัลคีย์  เกิดในปี 604 เสียชีวิตในปี  672 เป็นนักกวีชาวอิหร่านในศตวรรษที่ 7 เมาลาวีย์ อยู่ในมัสฮับฮานาฟีเหมือนกับบรรพบุรุษของเขา แต่บางคนถือว่าเขา เป็นชีอะฮ์เพราะบทกวีหลายบทที่เมาลาวีย์ แต่งบรรยายถึงอิมามอาลี (อ.) และเหตุการณ์กัรบาลา เหตุการณ์ที่ทรงคุณค่าที่สุดในชีวิตของเมาลาวีย์ คือการพบกับ ชัมส์ ตับรีซีย์  เขารู้สึกทึ่งกับความศรัทธาและศาสนาของ ชัมส์ โดยที่เมาลาวีย์ทิ้งการเรียนและบรรยาย และติดตามชัมส์ไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต  เมาลาวีย์มีผลงานทั้งร้อยแก้วและบทกวี และหนังสือสองเล่ม มัษนาวีย์  มะอ์นาวีย์ และ ดีวาน ชัมส์ ซึ่งถือเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของเขาในวรรณคดีเปอร์เซีย วันที่ 8 เดือนเมะห์ร ตามปฏิทินอิหร่าน ได้รับการขนานนามว่าเป็นวันชาติแห่งการรำลึกถึงเมาลาวีย์ ซึ่งมีการสร้างภาพยนตร์และซีรีส์เกี่ยวกับชีวิตของ เมาลาวีย์ ทั้งในอิหร่านและต่างประเทศ ญาลาลุดดีน มูฮัมหมัด บัลคีย์  หรือรู้จักในนามเมาลาวีย์  และ มุลลา รูมีย์ คือนักกวีชาวอิหร่านและนักรหัสยะแห่งศตวรรษที่ 7 ตามจันทรคติ ในประวัติศาสตร์ของตะเศาวุฟในอิหร่านและในประวัติศาสตร์วรรณกรรมเปอร์เซีย ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เขาเกิดที่เมืองบัลค์ […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

ซะอ์ดีย์

อบู มูฮัมหมัด มุชัฟฟะรุดดีน มุศเละห์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน มุชัฟร็อฟ หรือชื่อที่เป็นที่รู้จักกันคือ ซะอ์ดีย์ เป็น นักกวี และนักเขียนชาวอิหร่าน นักวรรณกรรมตั้งชื่อให้เขาว่า ปรมาจารย์แห่งวาจา ราชาแห่งวาจา เขาศึกษาที่ เนะซอมีเยะห์ แห่งกรุงแบกแดด ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางทางวิชาการและความรู้ที่สำคัญที่สุดในโลกอิสลามในขณะนั้น และหลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปที่ภูมิภาคต่างๆในฐานะนักเทศน์ ไม่ว่าจะเป็นซีเรียและฮิญาซ จากนั้น ซะอ์ดีย์ก็กลับไปยังบ้านเกิดของเขาที่เมืองชีราซ  และอยู่ที่นั่นจนวาระสุดท้ายของชีวิต หลุมฝังศพของเขาตั้งอยู่ในชีราซ ซึ่งรู้จักกันในชื่อซะอ์ดีเยะห์ เขาอยู่ในช่วงการปกครอง Atabakan ของเปอร์เซีย ในชีราซ และในเวลาเดียวกันก็คือช่วงที่อิหร่านถูกรุกรานโดยมองโกล และการล่มสลายของรัฐบาลในสมัยนั้น เช่น Khwarezm Shahs และ Abbasids แน่นอนว่าดินแดนเปอร์เซียรอดพ้นจากการโจมตีของชาวมองโกลเนื่องจากมาตรการของ อะบูบักร บิน ซะอ์ดซึ่งเป็น Atabakan ที่หกและมีชื่อเสียงที่สุดของ Salghori แห่ง Shiraz   อบู บักร์ บิน ซะอ์ด Atabakan คนที่6 มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งซัลโกรีแห่งชีราซ รอดชีวิตจากการโจมตีของชาวมองโกล […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

ฮาฟิซ ชีรอซีย์

คอเญะห์ ชัมซุดดีน มูฮัมหมัด บิน บะฮาอุดดีน มูฮัมหมัด ฮาฟิซ ชีรอซีย์ (เกิดปี727-เสียชีวิตปี 792 ฮ.ศ.) รู้จักกันในชื่อ ฮาฟิซ เป็นชาวอิหร่าน บทกวีของเขาส่วนใหญ่เป็นโคลง เป็นที่ทราบกันดีว่า ฮาฟิซ เปลี่ยนมาใช้รูปแบบการพูดของ คอญะวีย์ เกรมอนีย์ สุนทรพจน์ของเขาจึงมีความคล้ายคลึงกับบทกวีของคอญะวีย์ ฮาฟิซ เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้มีอิทธิพลที่สำคัญที่สุดของนักกวีชาวเปอร์เซีย ในศตวรรษที่ 18 และ 19 ค.ศ บทกวีของเขาได้รับการแปลเป็นภาษายุโรป ชื่อของเขาได้เข้าสู่แวดวงวรรณกรรมของโลกตะวันตก ทุกปีในวันที่ 20 เมะห์ร พิธีรำลึกถึงฮาฟิซ จะจัดขึ้นที่สุสานของเขาในเมืองชีราซ โดยมีนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมด้วย ในปฏิทินทางการของอิหร่าน 20 เมะห์ร เรียกว่าวันรำลึก ฮาฟิซ ในบทกวีของเขา ฮาฟิซ กล่าวถึงการเข้าโรงเรียนของเขา การศึกษาวิชาการ ทั้งบทเรียนภาคเช้า และการท่องจำอัลกุรอาน ชื่อเสียงของฮาฟิซทำให้บรรดาผู้ปกครองทั้งจากดินแดนที่ห่างไกลและใกล้ต่างเรียกตัวเขา ตลอดชีวิตของเขา เขามีปฏิสัมพันธ์กับสุลต่านและผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน และเขายังได้พบปะกับนักวิชาการ นักวรรณกรรม และกวีนิพนธ์อีกด้วย ฮาฟิซไม่ได้ถือว่าบาปใดๆ หนักไปกว่าการหลอกลวงประชาชนและความโอ้อวด […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

เฟร์โดว์ซี

เรื่องราวมหากาพย์และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของอิหร่านมาจากยุค Sasanian ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอิหร่านตะวันออกและเอเชียกลาง ซัยยิด ฮาซัน อามีน ถือว่าสไตล์การเขียนชาห์นาเมห์ของเฟร์โดว์ซีมีที่มาจากสไตล์ของอัลกุรอาน นักวิจัยวรรณกรรมและนักวิชาการชาห์นาเมห์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าเฟร์โดว์ซีเป็นชีอะฮ์ ในคำนำของหนังสือและตอนท้ายของเรื่องเล่า เขาได้สาธยายและสรรเสริญอัลลอฮ ซบ. ท่านนบีมูฮัมหมัด ซล. และท่านอิมาม อาลี อ. ฮากีม อบุลกอเซ็ม ฮาซัน บิน อาลี เฟร์โดว์ซี ตูซีย์ ซึ่งเกิดประมาณปี 329 และ 330 ฮ.ศ. และเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 80 ปีในปี 411 ฮ.ศ. กวีมหากาพย์ชาวอิหร่านผู้โด่งดังที่สุดและผู้แต่งชาห์นาเมห์เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมและมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนที่สุดในภาษาเปอร์เซีย หมู่บ้านทุกแห่งในอิหร่าน เฟร์โดว์ซี ได้รับการขนานนามว่าเป็นเทพเจ้าแห่งวาจาและเป็นบิดาแห่งภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ วันที่ 25 อูรเดเบเฮช ในปฏิทินประจำชาติของชาวอิหร่าน ได้รับการขนานนามว่าเป็น “วันแห่งการรำลึกถึง ฮากีม อบุลกอเซ็ม เฟร์โดว์ซี” เฟร์โดว์ซี  เป็นที่รู้จักในชื่อ ฮากีม มาหลาย อัสการ์ ดอดเบห์ ศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรมแห่งรหัสยะ เชื่อว่าวิทยปัญญาของเฟร์โดว์ซี เป็นวิทยปัญญาประจำชาติของอิหร่าน […]

Read More
شاعران و ادیبان مشاهیر

รุเดะกีย์

อบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร บิน มูฮัมหมัด บิน ฮากีม บิน อับดุลเราะห์มาน บิน อาดัม รู้จักกันในชื่อ รุเดะกีย์ หรือที่รู้จักในนามปรมาจารย์แห่งกวี เกิดเมื่อวันที่ 4 เดย์  ปี 237 เป็นกวีชาวอิหร่านผู้โด่งดังคนแรกในสมัยซามานี ในศตวรรษที่ 4 ฮ.ศ. เขาเป็นปรมาจารย์ด้านกวีแห่งศตวรรษนี้ในอิหร่าน เขาเกิดในหมู่บ้านชื่อ Banuj Rudak (Panjkent ในปัจจุบันคือทาจิกิสถาน) ในเขต Rudak ใกล้ Nakhshab และ Samarkand ทักษะอย่างหนึ่งของเขาคือการใช้ภาพในจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบ และอุปมาอุปไมยในบทกวีของเขา ภาพที่ รุเดะกีย์ ใช้ในบทกวีของเขา ไม่เหมือนกวีสไตล์โคราซานีของนักกวีคนอื่นๆ ในบรรดาภาพต่างๆการเปรียบเทียบถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในบทกวีของรุเดะกีย์  อุปมาส่วนใหญ่ของเขาเป็นแบบประสาทสัมผัส รุเดะกีย์ เป็นหนึ่งในนักวรรณกรรมเปอร์เซียกลุ่มแรกๆ เขาสร้างสรรค์ผลงานมามากมาย น่าเสียดาย มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มาถึงเรา ผลงานที่สำคัญที่สุดของเขาคือ Kalileh และ Damneh Manzoom นอกจากนั้น ยังมีมัษนาวีย์ทั้ง3ของเขาที่มาถึงเรา […]

Read More
علما و اندیشمندان مشاهیر

ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์ 

มุรตะฏอ มุเฏาะฮะรีย์   หรือที่รู้จักในชื่อ ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์  หรือ ครู มุเฏาะฮะรีย์ ท่านเป็นนักคิดนักเขียนชีอะห์ในศตวรรษที่ 14 ฮ.ศ  เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของ อัลลามะฮ์ ตะบาตะบาอีย์  และ อิมามโคมัยนี  ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์ ถือว่า เป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลและเป็นหนึ่งในผู้นำทางปัญญาของการขับเคลื่อนการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน เป็นหัวหน้าสภาการปฏิวัติจนถึงวันที่ท่านถูกสังหาร ก่อนการปฏิวัติอิสลาม การต่อสู้ทางปัญญาของ ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์ กับกระแสแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ในอิหร่าน ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญที่ทำให้เยาวชนหลีกห่างจากแนวคิดลัทธิมาร์กซิสต์ ท่านเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ฮุซัยนีเยะห์ เอรชอด ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์ มีผลงานที่เกี่ยวกับปรัชญาและเทววิทยาอิสลามมากมาย ท่านอธิบายคำสอนของอิสลามและชีอะห์โดยปรับปรุงให้ทันสมัย ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของกิจกรรมทางปัญญาของท่าน ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์จัดเตรียมคำสอนอิสลามซึ่งก่อนหน้านี้นำเสนอในรูปแบบของเนื้อหาที่ซับซ้อนและเข้าใจยากให้เป็นภาษที่ผู้ฟังเข้าใจ หนังสือของท่านมีหัวข้อทางศาสนาต่างๆซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งในภาษาต่างๆ ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 บะห์มัน ปี 1298 ณ ฟรีมอนปริมณทลของเมืองมัชฮัด มูฮัมหมัด ฮูเซน  มุเฏาะฮะรีย์  บิดาของ ชะฮีด มุเฏาะฮะรีย์  เป็นที่เคารพนับถือจากผู้คนในฟรีมอน และเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของ ออคุน […]

Read More
علما و اندیشمندان مشاهیر

ฟะรอบี

ฟะรอบี เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ สังคมวิทยา การแพทย์ คณิตศาสตร์ และดนตรี ผลงานส่วนใหญ่ของเขาอยู่ในสาขาปรัชญา ตรรกศาสตร์ สังคมวิทยา และการเขียนสารานุกรม เขาเป็นนักปรัชญาคนแรกที่ในยุคอิสลาม เขาจึงถูกเรียกว่า “ปรมาจารย์แห่งนักปรัชญา”  ฟะรอบี เกี่ยวข้องกับสำนักคิด Neo-Platonist เขาจึงพยายามประสานแนวคิดของ เพลโต และ อริสโตเติล ให้เข้ากับเทววิทยา และเขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักคิดในปรัชญาอิสลาม  ฟะรอบี เขียนบทอรรถาธิบายผลงานอันมีค่าของอริสโตเติล  ด้วยเหตุนี้เขาจึงถูกเรียกว่า ครูคนที่สอง เขามีผลงานมากมาย เช่น  อัลญัม บัยนัร รอบีล  อิฆรอฏ มาบะอดุต ตะบีอะฮ์  ฟุศุศุล ฮิกมะห์  และ เอียะศออุลอุลูม  ในยุคกลางผลงานบางชิ้นของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาละติน และเขาก็กลายเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตก บิดามารดาของ ฟะรอบี เป็นชาว Sogdians ที่พูดภาษาอิหร่าน ฟะรอบี ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในกรุงแบกแดด ดารุ้ลคิลาฟะห์ในการปกครองของอับบาซี Abu Nasr Muhammad bin Muhammad […]

Read More
علما و اندیشمندان مشاهیر

มุลลาศัดรอ

ศัดรุดดีน มูฮัมหมัด บิน อิบรอฮีม ชีรอซีย์  (เสียชีวิตในปี 1050 ฮ.ศ.) รู้จักในนาม มุลลาศัดรอ นักปรัชญา และผู้ก่อตั้งสำนักคิดปรัชญา ฮิกมัต มุตะออลียะห์ ซึ่งอยู่ในฐานะสำนักคิดปรัชญาที่สำคัญที่สุดอันดับสามในโลกอิสลาม เขายังเป็นที่รู้จักในชื่อ ซาดร์ อัล-ฮุกุมา และ ซาดร์ อัล-มุฏะอัลลิฮีน  เขาอธิบายระบบปรัชญาในหนังสือที่สำคัญที่สุดของเขา ฮิกมัต มุตะออรียะห์ ฟี อัสฟาร อัล-อักลิยะฮ์ อัล-อัรบะอะฮ์ หรือที่รู้จักในชื่อ อัสฟาร หลังจากที่เขาจากไปหลักการใช้สติปัญญาในสายธารของชีอะฮ์ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของเขา และนักปรัชญาหลายคน รวมถึง มุลลา ซับซะวอรีย์,  ออกอ อาลี มุดัรริซ เซะนูซี และอัลลามะห์ ตาบาตาบาอี  ก็ได้อธิบายหลักความคิดของเขา หลักของการดำรงอยู่หลักการสำนักคิดของเขาและทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพทางกายภาพได้กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง มุลลาศัดรอ เป็นลูกศิษย์ของ มีร์ ดามอด  และ เชคบะฮาอีย์ ส่วน เฟซ กาชานีย์  และ อับดุลรรอซัก ลอฮิญีย์ […]

Read More