การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

ทะเลสาบเขื่อนอามีร์กาบีร์

เขื่อนนี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1337 ถึง 1342  เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในอิหร่าน ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและการกีฬา เขื่อนแห่งนี้มีการเพาะพันธุ์ปลาคาร์พและปลาแซลมอนด้วย  แต่ความแวววาวของน้ำ ธรรมชาติที่สวยงาม อากาศและทิวทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์ของเขื่อน และทะเลสาบเเห่งนี้ยาวถึง 4 กิโลเมตร มีสวนที่เต็มไปด้วยผลไม้และพืชพรรณสีเขียวสามารถมองเห็นได้รอบทะเลสาบและเขื่อนอามีร์กาบีร์ หรือเรียกอีกอย่างว่าเขื่อนการัจช์  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองการัจช์ซึ่งอยู่ห่างจากถนน การัจช์-ชอรูซ 25 กม. ทะเลสาบมีขนาด 4,000 เฮกตาร์ ตั้งอยู่ตรงเส้นทางไหลของแม่น้ำ การัจช์ เขื่อน อามีร์กาบีร์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในอิหร่านและเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำประปาของเตหะราน ทะเลสาบของเขื่อนแห่งนี้ เป็นหนึ่งในแหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติที่สำคัญสำหรับปลาเรนโบว์เทราต์และปลาเทราท์จุดแดง  ลักษณะพิเศษการกักน้ำในแม่น้ำ การัจช์ ด้านหลังเขื่อนอามีร์กาบีร์ นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและเป็นส่วนหนึ่งแหล่งน้ำดื่มของเตหะรานแล้ว ยังก่อให้เกิดทะเลสาบที่สวยงามซึ่งนำไปสู่การใช้เพื่อการท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ และการกีฬาจากเขื่อนการัจช์  และเป็นหนึ่งในรีสอร์ทและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ดีที่สุดของการัจช์    

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

น้ำตกโคร์

น้ำตกโคร์ ถือได้ว่า เป็นผลงานชิ้นเอกของผู้สร้างจักรวาลสำหรับใจกลางธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของถนนชอลูซ คำว่าโคร์ เป็นคำย่อของคำว่า โคร์ชีด แปลว่า ดวงอาทิตย์   หมู่บ้านโคร์ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 2,800 เมตรบนเนินเขาด้านตะวันตกของกัลเละห์ กันดุม ชอล์  น้ำตกนี้มีความสูงถึง 60 เมตรซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคนี้  ด้วยสภาพอากาศที่เป็นเอกลักษณ์และธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ จึงดึงดูดผู้ที่รักธรรมชาติและความงามอย่างมาก      

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

อิมามซอเดะห์ ตอเฮ็ร

อิมามซอเดะห์ ตอเฮ็ร  เป็นหนึ่งในอาคารทางศาสนาที่สำคัญของแคว้นอัลโบรซ์ และ เมืองการัจช์ อาคารหลังนี้เป็นของยุค Safavid และเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้  สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่บนทางหลวง การัจช์ – กัซวีน หลังสะพาน Mehrshahr ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขตชุมชน Darya และทางเหนือของสวนแอปเปิ้ล Mehrshahr และทางเหนือของทางรถไฟ การัจช์ – กัซวีน ส่วนหนึ่งของอาคารเป็นของยุค Safavid และอีกส่วนเป็นของยุคร่วมสมัยมีพื้นที่มากกว่า 6 เฮกตาร์ โดยมีอาคารของฮะรัม ลานภายใน สวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะสำหรับเด็ก ที่จอดรถ สุสานและที่อาบน้ำนมาซ และถนนทางตอนเหนือมีทิวทัศน์ผืนน้ำที่สวยงาม  อาคารเก่าของสุสานถูกรื้อถอนในปี 74  เนื่องจากการทรุดตัวของอาคาร และ การพังทลายของกำแพง อาคารใหม่ถูกสร้างขึ้นด้วยการออกแบบที่สวยงาม มีพื้นที่ 1,400 ตารางเมตรซึ่งมีโดมอันเดียว มีห้องโถงแยกชายหญิง มีสองระเบียงทางทิศเหนือและทิศใต้ และเฉลียงที่สวยงาม ที่ครอบสุสานใหม่นี้ ถูกสร้างและติดตั้งในปี 79 ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบพื้นเมือง มีสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น ซึ่งมีพื้นที่หกพันตารางเมตรอยู่ทางทิศใต้ของอาคารทางศาสนาแห่งนี้ ทำให้อาคารมีทิวทัศน์ที่สวยงาม  

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

ที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี

ที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี การัจช์  เป็นอาคารหิน-อิฐที่อยู่ในยุค Safavid ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง การัจช์ ในแคว้นของอัลโบรซ์ และ ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจัตุรัส ชาห์ อับบาซี ที่พักกองเกวียนประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้รับการจดทะเบียนในรายชื่ออนุสรณ์สถานแห่งชาติของอิหร่านเมื่อวันที่ 22 ฟัรวาร์ดีน ปี 1356 โดยมีหมายเลข 1368 อาคารของที่พักกองเกวียน ชาห์ อับบาซี การัจช์ เช่นเดียวกับที่พักกองเกวียนอื่นๆในยุค Safavid ไม่มีกฎเกณฑ์ในการก่อสร้าง อาคารที่พักกองเกวียนนี้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีพื้นที่โดยรวม 6,000 ตารางเมตร  

Read More
การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อัลบุรซ์

สะพานออซิฟ อัล เดาละห์

สะพานออซิฟ อัล เดาละห์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำ ชูร์ ใกล้กับ มัรด์ ออบอด การัจช์ ถูกสร้างในยุคของ กษัตริย์ นาศิรุดดีน ชาห์ กาจาร์ โดย ออซิฟ อัล เดาละห์ เหตุนี้จึงรู้จักในชื่อ สะพานออซิฟ อัล เดาละห์  ปัจจุบันครึ่งหนึ่งทางตอนเหนือของสะพานมีปากทางเข้า2ทาง  แต่ถูกทำลายจนหมดสิ้น แต่จากซากของฐานรากสามารถสร้างใหม่ได้  เมื่อรวมปลายทั้งสองด้านแล้ว สะพานแม่น้ำ ชูร์ เดิมมีความยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 8.30 เมตร มีปากทางเข้าขนาดใหญ่และเล็กสี่ช่อง ซึ่ง ณ ปัจจุบันสองช่องถูกทำลายไปแล้ว  ฐานของสะพานทำด้วยอิฐ และ หินบางส่วน และยกขึ้นเล็กน้อยในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่าน เพื่อลดแรงดันน้ำ  

Read More